บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
เครื่อง 3D Printer
3D Printing มีชื่อเรียกอีกอย่างคือ Additive Manufacturing มีรากมาจากคำว่า ‘Add’ ซึ่งคือการขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นๆ จนได้ออกมาเป็นวัตถุที่ต้องการ กระบวนการผลิตชนิดนี้ได้ฉีกแนวจากวิธีการแบบเดิมๆที่เรียกว่า Subtractive Manufacturing ที่เป็นการสกัดเนื้อวัสดุออกจนได้เป็นรูปร่างของวัตถุที่ต้องการผลิต โดยวิธีการตัด กลึง ไส เจาะ เจียรไน เป็นต้น
เครื่อง 3D Printer มีอยู่มากมายหลายประเภท ทั้งเครื่องที่ขึ้นรูปชิ้นงานจากวัสดุพลาสติก โลหะ เซรามิค ตั้งแต่ขนาดเล็กกว่าฝ่ามือไปจนถึงขนาดเท่าบ้านทั้งหลัง แต่ทุกประเภทมีหลักการทำงานเหมือนกัน นั่นก็คือการขึ้นรูปชิ้นงานทีละชั้นๆ ซ้อนกันจนกลายเป็นวัตถุที่ต้องการ เทคโนโลยี 3D Printing ที่แพร่หลายที่สุดคือ FDM (Fused Deposition Modeling) ซึ่งใช้วิธีละลายเส้นพลาสติกและฉีดพลาสติกขึ้นรูปเป็นวัตถุทีละชั้น
ข้อดี
- สร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้มากกว่า
- ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับความต้องการของแต่ละคน
- ไม่จำเป็นต้องใช้แม่พิมพ์หรือ Tooling
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้รวดเร็วและง่ายดาย
- ลดปริมาณของเสียจากการผลิต
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับการผลิตแบบจำนวนมาก
- มีวัสดุให้เลือกใช้น้อยกว่า
- ความแข็งแรงของชิ้นงานด้อยกว่า
- ความแม่นยำ ความละเอียดของชิ้นงานต่ำกว่า
ผลกระทบ
เหมาะกับการสร้างชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่เหมาะกับการนำมาผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก และยังมีข้อจำกัดด้านความแข็งแรงและความแม่นยำของชิ้นงานอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น